หุ่นยนต์
ในปัจจุบันนี้การพัฒนาหุ่นยนต์ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตยางและพลาสติกในโรงงานมากยิ่งขึ้น เพื่อนำผลที่ได้ไปต่อยอกงานวิจัยต่อไป ในขณะที่ความต้องการของผู้ผลิตส่วนใหญ่คือ ปริมาณสินค้าจำนวนมาก เพียงหุ่นยนต์ขนาดเล็ก หรือขนาดกลาง ก็สามารถเพิ่มปริมาณสินค้าจำนวนมากได้ในเวลาอันสั้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ผลิตได้เป็นย่างดี
มีคุณสมบัติอีกหลายประการที่ทางหน่วยงานผลิตหุ่นยนต์ จะต้องคอยปรับแก้ไข หากหุ่นยนต์ที่ผลิตขึ้นมานั้นยากต่อการใช้งาน หรือเป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์ หรือทำให้สมดุลธรรมชาติเสียไป ดังนั้นสิ่งที่เพิ่มเข้าไปในหุ่นยนต์อาจประกอบด้วย การตอบสนองต่อแรงกระทำ และการพัฒนาระบบการรับภาพ เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถปรับตำแหน่งได้โดยอัตโนมัติหรือดูมีชีวิตมากยิ่งขึ้นหรือเพิ่มความยืดหยุ่นต่างๆ ซึ่งหุ่นยนต์ที่ดีควรมี:
▪ ส่วนแขนของหุ่นยนต์
▪ สว่านหรือตัวเจาะ
▪ ส่วนล้อและส่วนเครน
▪ ส่วนที่เป็นมือหยิบจับ
▪ ตัวเชื่อม, อ็อกโลหะ (ช่วยทำให้โลหะเข้ารูปได้ดีขึ้น)
▪ ต้องมีการพัฒนาหุ่นยนต์อยู่เสมอ
ยกตัวอย่างเช่น ส่วนแขนของหุ่นยนต์จะมีประโยชน์ต่องานอุตสาหกรรมที่หลากหลาย และส่วนประกอบที่ตัวหุ่นยนต์สามารถถอดหรือใส่บางสิ่งเข้าไปเพื่อปรับให้เหมาะสมกับงานที่ทำมากที่สุด
เหตุผล 5 ประการที่ควรใช้หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม
▪ หุ่นยนต์สามารถทำงานผลิตได้อย่างประสิทธิภาพ ตั้งแต่กระบวนการสร้าง จนถึงกระบวนการห่อบรรจุภัณฑ์
▪ สามารถตั้งค่าหุ่นยนต์ให้ทำงานตลอด 24 ชม.ได้ ทำให้เมื่อไฟดับ หุ่นยนต์จะยังสามารถทำงานต่อไปได้
▪ ชิ้นส่วนภายในหุ่นยนต์มีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามแต่ที่เราต้องการ ทำให้สามารถ ทำงานที่ค่อนข้างซับซ้อนได้เป็นอย่างดี
▪ เนื่องจากปัจจุบันหุ่นยนต์มีการพัฒนาที่ดีขึ้นจากแต่เดิมมากยิ่งขึ้น ทำให้ทางผู้ผลิตต้องการปรับเปลี่ยนทุกสิ่งอย่างภายในโรงงานให้เป็นอัตโนมัติ เพื่อความสะดวกสบาย
▪ การให้หุ่นยนต์ทำงานโดยอัตโนมัติ จะช่วยสร้างประโยชน์ให้กับบริษัทมากมาย ไม่ว่าจะเป็นจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ หรือแม้แต่ร้านค้าเล็กๆ
เหตุผล 5 ประการที่บ่งบอกว่าหุ่นยนต์ไม่ได้ส่งผลเรื่องปัญหาการจ้างงาน
▪ เมื่อบริษัทไม่ใหญ่โดพอที่จะขันกับบริษัทอื่น การว่าจ้างงานก็ถือเป็นเรื่องลำบาก
▪ หน้าที่ของหุ่นยนต์ในโรงงานคือ ช่วยทำงานทุกอย่างในตำแหน่งที่ว่างอยู่ได้
▪ หุ่นยนต์ช่วยมนุษย์ได้ในหลายๆเรื่อง ทั้งเรื่องการป้องกันไม่ให้มนุษย์ต้องทำงานเสี่ยงอันตราย,การทำงานซ้ำซ้อน, ผิดศีลธรรม รวมถึงยังสามารถสร้างสรรค์งานต่างๆได้อีกมากมาย เช่น งานวิศกรรม งานโปรแกรมมิ่ง งานการจัดการ และการบำรุงรักษาเครื่องมือต่างๆ
▪ หุ่นยนต์สามารถพัฒนาความสามารถการทำงานไปได้สูงสุด เพื่อพร้อมสำหรับการแข่งขันกับโรงงานอื่นๆ
▪ เนื่องด้วยปัจจุบันมีจำนวนคนงานในตลาดแรงงานลดลงจากปัญหาการว่าจ้างเมื่อหลายสิบปีก่อน ซึ่งหุ่นยนต์ก็ได้เข้ามามีบทบาทในส่วนนี้มากยิ่งขึ้น
เหตุผล 5 ประการที่ช่วยแสดงให้เห็นว่าสามารถใช้หุ่นยนต์เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงงานได้
▪ การใช้หุ่นยนต์ให้ทำงานโดยอัตโนมัติ จะช่วยให้บริษัทต่างๆภายในประเทศมีคุณสมบัติเพียงพอสำหรับการแข่งขันกับบริษัทรายอื่นที่อู่ต่างประเทศ
▪ เนื่องจากหุ่นยนต์สามารถทำประโยชน์ให้กับโรงงานอุตสาหกรรมได้เนอย่างมาก ดังนั้นทางโรงงานจึงควรบำรุงรักษา หรือต่อยืดค่าสัญญาลิขสิทธิ์ต่างๆของหุ่นยนต์ให้ดี
▪ หุ่นยนต์ได้รับ ROI ภายในเวลาเพียงแค่ 2 ปี ยิ่งช่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการว่าจ้างงาน ยิ่งทำให้ตัวหุ่นยนต์มีราคาสูงขึ้นไปอีก
▪ จากผลการวิจัยทางสถิติแล้วพบว่า หากอาศัยความสามารถทั้งหมดที่คนงานสามารถทำได้ ประกอบกับการใช้หุ่นยนต์ ในการทำอุตสาหกรรมภายในโรงงาน จะช่วยเพิ่มมาตรฐานหรือคุณภาพงานที่ได้มากขึ้น
▪ เนื่องจากปัจจุบันนี้ อุตสาหกรรมสีเขียว กำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว การใช้หุ่นยนต์เข้ามาช่วยในด้านงานอุตสาหกรรม ถือว่าเป็นสิ่งที่สามารถตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากไม่จำเป็นต้องควบคุมสภาพอากาศหรือแสงแดด เพื่อให้หุ่นยนต์เหล่านั้นทำงานได้ และนอกจากนี้มันยังสามารถทำความสะอาดสถานที่ต่างๆได้อีกด้วย
การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงหุ่นยนต์
หากจะให้พูดกันตามตรงเลยก็คือว่า หุ่นยนต์จะเข้ามามีบทบาทต่องานอุตสาหกรรมที่เกินความสามารถของมนุษย์ นั่นคือ งานที่มีขนาดเล็กเกินกว่าที่ตามนุษย์จะมองเห็น หรือนิ้วของคนจะแหย่เข้าไปได้ และนี่เป็นเพียงแค่หนึ่งเหตุผลที่ใช้อธิบายว่าทำไมงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้ถูกออกแบบมาเพื่อให้หุ่นยนต์เป็นตัวจัดการ
เทคโนโลยีที่ช่วยในการมองเห็น เริ่มมีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ช่วยลดงบประมาณในการซ่อม การบำรุงหุ่นยนต์เพื่อให้ตอบสรองกับงานต่างๆที่อยู่ตรงหน้า แต่หุ่นยนต์ปัจจุบันนี้สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่อยู่ตรงหน้าได้เป็นอย่างดี
โรงงานอุตสาหกรรมหลายๆแห่ง เริ่มตระหนักถึงประโยชน์ในการใช้หุ่นยนต์เข้ามาช่วยในการทำงานมากยิ่งขึ้น ลองเข้าไปดูที่เว็บไซต์ RoboMac.co.th และดูว่าหุ่นยนต์อุตสาหกรรม จะสามารถทำประโยชน์ให้กับธุรกิจของคุณได้มากน้อยเพียงใด
หุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์หรือสัตว์
อาซิโม (ASIMO) หรือชื่อย่อจาก ‘Advanced Step in Innovative Mobility’ เป็นนวัตกรรมหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ที่ล้ำยุคที่สุดในโลกขนาดความสูง130 เซนติเมตร น้ำหนัก 54 กิโลกรัม ซึ่งคิดค้นและพัฒนาขึ้นโดย บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด ผู้ผลิตยานยนต์และเครื่องยนต์รายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกทั้งนี้อาซิโมคือสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพและความทุ่มเทของฮอนด้าในการคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการเคลื่อนที่ระดับโลก
กำเนิดอาซิโม
อาซิโม ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2543 โดยเป็นความสำเร็จจากโครงการวิจัยเพื่อสร้างสรรค์หุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ที่ฮอนด้าได้ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ.2529 จากความฝันของทีมวิศวกรฮอนด้า นำโดยนายมาซาโตะ ฮิโรเสะ หัวหน้าวิศวกรอาวุโส บริษัท ฮอนด้า อาร์แอนด์ดี จำกัด ศูนย์วิจัยวาโกะ ที่ต้องการเห็นหุ่นยนต์เป็นเพื่อนร่วมงาน และเป็นเพื่อนกับมนุษย์ในอนาคต ซึ่งได้พัฒนาสู่แนวคิด “การผสมผสานการทำงานที่หลากหลายของเครื่องยนต์กลไกที่จะช่วยเติมเต็มความสมบูรณ์ของชีวิตมนุษย์” อันเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาหุ่นยนต์ของฮอนด้า ทีมวิศวกรได้เฝ้าสังเกตการเดิน การเคลื่อนไหวของสัตว์และมนุษย์ อย่างใกล้ชิด เพื่อนำมาคิดค้นรูปแบบการเดินของหุ่นยนต์และนำไปสู่การพัฒนาหุ่นยนต์ทดลอง 7 รุ่น และหุ่นยนต์ต้นแบบอีก 3 รุ่น ตลอดระยะเวลา 14 ปีที่ได้ริเริ่มโครงการ จนได้ให้กำเนิดอาซิโมขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของวิวัฒนาการแห่งหุ่นยนต์อย่างเป็นทางการในปีพ.ศ. 2543 ดังกล่าว
ภาพรวมความสามารถที่โดดเด่นของอาซิโม
เพื่อให้อาซิโมสามารถทำงานในสภาพแวดล้อมแบบมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดอาซิโมจึงได้รับการออกแบบให้มีรูปลักษณ์ที่คล้ายมนุษย์พร้อมติดตั้เทคโนโลยีการเคลื่อนที่อัจฉริยะ ไอ-วอล์ค (i-WALK) ที่ทำให้อาซิโมสามารถเดินด้วย 2 ขา อย่างคล่องแคล่วนุ่มนวล เป็นธรรมชาติ สามารถคาดการณ์การเดินล่วงหน้า ตลอดจนสามารถเดินได้หลากหลายรูปแบบ เช่น การเดินไปข้างหน้าและถอยหลัง การเดินไปด้านข้าง การเดินขึ้นลงบันได การเดินเลี้ยวหักมุมต่อเนื่องจากการเดินปกติโดยไม่ต้องหยุดก่อนความสามารถในการปรับความเร็วในแต่ละก้าวของการเดิน ประกอบกับเทคโนโลยีการควบคุมท่าทางที่ช่วยป้องกันการลื่นไถลเพื่อรักษาการทรงตัวขณะกระโดดและวิ่งในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งยังช่วยให้อาซิโมสามารถเคลื่อนไหวลำตัว เช่น โน้มตัวหรือหันลำตัวได้อย่างคล่องแคล่ว และมีเสถียรภาพยิ่งขึ้น
นวัตกรรมอันชาญฉลาด เพื่อพัฒนาการทำงานภายใต้รูปแบบการรักษาที่ทันสมัย อำนวยความสะดวกสบาย เพิ่มความแม่นยำ และลดภาระหน้าที่รวมถึงปัญหาการขาดบุคลากรในองค์กร นวัตกรรมทันสมัยในวันนี้ที่เราจะพลาดการกล่าวถึงไม่ได้เลยคือ หุ่นยนต์ทางการแพทย์ (robotic medical devices)
หุ่นยนต์ทางการแพทย์ เป็นเทคโนโลยีที่มีการคิดค้นและพัฒนามายาวนาน สอดคล้องความต้องการวิธีรักษาที่ทันสมัย รวดเร็ว มีประสิทธิภาพสูง ก้าวพ้นความบกพร่องของอดีตที่ผ่านมาด้วยการใช้สมองกลอันชาญฉลาดในการสั่งงานหุ่นยนต์ให้ทำงานตามวัตถุประสงค์การใช้งานของทีมแพทย์
เริ่มตั้งแต่การฟื้นฟู ช่วยเหลือการเจริญเติบโตของวัยเด็กจนไปถึงการช่วยเหลือการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ ในส่วนของการผ่าตัดที่ครอบคลุมถึงความสามารถในการทำงานร่วมด้วยกับทางทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการทำการผ่าตัดทางไกลซึ่งสามารถควบคุมวิธีการรักษาต่างสถานที่ได้ นับได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยน่าภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งในการรักษาผู้ป่วย และที่ขาดไม่ได้คือการทำความสะอาดหรือการฆ่าเชื้อในห้องปฏิบัติการ หุ่นยนต์ก็ยังสามารถทำงานตามคำสั่งได้เช่นกัน เพื่อป้องกันและลดโอกาสที่อาจจะเกิดการติดเชื้อของผู้ปฏิบัติงาน
ในปัจจุบันทราบหรือไม่ว่า ในตลาดการพัฒนาหุ่นยนต์ทางการแพทย์มิได้มีการพัฒนาหรือผลิตหุ่นยนต์เพียงเพื่อทำหน้าที่การรักษาอย่างเดียว แต่ยังมีความสามารถในการจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วย รวมทั้งสามารถเตรียมผสมยาฉีดได้แล้วเช่นกัน โดยทำหน้าที่แทนเภสัชกรเพื่อลดการทำงาน ช่วยแบ่งเบาภาระต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง นับได้ว่าเป็นความล้ำหน้าทางเทคโนโลยีที่ก้าวข้ามผ่านความท้าทายของยุคสมัยได้ดีทีเดียว
ทั้งนี้การได้มาซึ่งเทคโนโลยีอันทันสมัย และความคุ้มค่านั้น ก็ต้องแลกมาซึ่งการลงทุนและค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมเช่นกัน
หุ่นยนต์ที่ใช้เก็บกู้ระเบิด
หลักการทำงานของหุ่นยนเก็บกู้ระเบิดพื้นฐานในการตรวจและเก็บกู้ระเบิดทั่วๆ ไป คือ การรับ-ส่งภาพและหรือเสียง คีบจับทำลายวัตถุต้องสงสัยแล้ว และมีระบบการควบคุม 2 ระบบ คือระบบการใช้สาย LAN (Local Area Network) และระบบไร้สาย (Wireless LAN) หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดนี้ นอกจากจะมีสมรรถนะพื้นฐานทั่วไปแล้ว หน่วยวิจัยฯ ยังได้มีการปรับปรุงแก้ไขการพัฒนาระบบต่างๆ ติดตั้งเพิ่มเติม เพิ่มเติมตามความต้องการของผู้ใช้งาน เช่น
- อุปกรณ์ติดตั้งปืนฉีดน้ำแรงดันสูง สำหรับทำลายวัตถุต้องสงสัย
- อุปกรณ์การควบคุมเส้นทางและเข็มทิศอิเล็กทรอนิกส์
- อุปกรณ์การพัฒนาการเก็บและแสดงข้อมูลการเคลื่อนที่ของแขนกล
- อุปกรณ์การพัฒนาให้มือจับของตัวหุ่นยนต์สามารถบอกแรงที่ใช้จับวัตถุได้ (Force Sensor)
- อุปกรณ์การส่งข้อมูลและภาพกลับมายังคอมพิวเตอร์ควบคุมด้วยกล้อง 3 มิติ
- อุปกรณ์ติดตั้งเพื่อกวาดตะปูเรือใบ
- อุปกรณ์ตรวจจับโลหะ เพื่อการสำรวจวัตถุระเบิดที่ฝังในใต้ดิน
- อุปกรณ์ x-ray
- อุปกรณ์ตรวจสอบวัตถุระเบิด
สำหรับจุดเด่นของหุ่นยนต์ที่ทีมนักวิจัยได้สร้างขึ้น คือ การใช้อุปกรณ์ที่มีในประเทศ ทำให้สะดวกต่อการบำรุงดูแลรักษารวมทั้งแก้ปัญหาเองได้ ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ หากหุ่นยนต์โดนระเบิดทำลายหรือได้รับความเสียหายจากการปฏิบัติงาน สามารถนำกลับมาเพื่อประกอบใหม่ใช้งานรวมทั้งราคาถูกกว่าหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดที่นำเข้าจากต่างประเทศ
หลังจากนำไปให้ผู้ปฏบัติงานได้ทดลองใช้งานจริงอย่างไม่เป็นทางการเพื่อการปรับปรุงให้เหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้งานไปแล้ว และได้มีพิธีมอบหุ่นยนต์ชุดแรกอย่างเป็นทางการให้กับ ศูนย์ข่าวกรองประจำพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อ 13 มกราคม 2552 ผลการใช้งานได้มีการติดต่อประสานกันอยู่ตลอดเวลาระหว่างคณะวิจัยฯและผู้ปฏิบัติงาน เพื่อหาข้อบกพร่องเพื่อปรับปรุงหุ่นยนต์ให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานให้ดียิ่งขึ้น
ล่าสุด เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2553 ณ ห้องประชุม 9 ตึก 50ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีพิธีมอบเงินบริจาค จาก บริษัทลักกี้เฟลม จก. จำนวน 200,000 บาท เพื่อสร้างหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดจำนวน 1 ตัว และมีพิธีมอบให้ กลุ่มงานเก็บกู้และตรวจพิสูจน์วัตถุระเบิด กองบังคับการตำรวจปฏิบัติการพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อการนำไปใช้งานต่อไป
ภาพต้นแบบหุ่นยนต์ที่ถูกนำไปใช้งานจริง
|
|
|