10/03/64

ระบบขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ

 ระบบขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ

    ความหมายของการขนถ่ายวัสดุ การที่จะให้ได้มาซึ่งผลผลิตที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการนั้น จะเห็นว่าในระบบการผลิต ต้องมีการเคลื่อนที่ด้วยเหตุนี้จึงมีระบบการขนถ่ายวัสดุเกิดขึ้น คาดว่าการขนถ่ายวัสดุ(Materials Handling) หมายถึง การจัดเตรียมสถานที่และตำแหน่งของวัสดุเพื่อ อำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้าย หรือเก็บรักษา ซึ่งการที่จะทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ได้ ต้องอาศัยศิลปะในการสรร หาเครื่องมือและอุปกรณ์การขนถ่ายวัสดุมาใช้ให้เหมาะสมกับงานนอกจากนั้น ยังต้องมีศิลปะในการออกแบบสร้าง เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆให้เหมาะสม และเป็นไปอย่างมีระบบตามหลักการ ความสำคัญ ของการขนถ่ายวัสดุ ทางวิทยาศาสตร์หรือสรุปง่ายๆ ก็คือ ต้องอาศัยศิลปะและวิทยาศาสตร์ใน การกำหนด วิธีการขนถ่ายวัสดุนั่นเอง 3. องค์ประกอบสำคัญของการขนถ่ายวัสดุ ในระบบการขนถ่ายวัสดุ ควรคำนึงถึงองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ - การเคลื่อนที่ (Motion) - เวลา (Time) - ปริมาณ (Quantity) - เนื้อที่ เนื้อที่ (Space)



บริษัท ศูนย์รวมสายพานอุตสาหกรรมไทย จำกัด และ หจก.ฟู้ด เบล์ทติ้ง แอนด์ เทฟล่อน

(เครือข่ายเดียวกัน) เราเป็นผู้ผลิต ระบบลำเลียงทุกชนิด เช่น Automation Lines, Robots Stackers,ระบบลำเลียง Modular สายพาน PVC PU สายพานยางดำ สายพาน Wire Mesh พร้อมให้คำปรึกษา แนะนำ ออกแบบ ดัดแปลง แก้ไข งานของที่อื่น โดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญเพื่อรองรับลูกค้าโรงงานของเรา รับผลิตออกแบบ งานสแตนเลส เครื่องใช้ในโรงงาน เช่น อ่างล้างสแตนเลส ชั้นวางของสแตนเลส รถเข็น ตู้ไฟฟ้าสแตนเลส พร้อมออกแบบเครื่องจักร์ เพื่อเพิ่ม ผลผลิตให้มากยิ่งขึ้น


ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System) มี 4 ประเภท


1. ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor System (แบบพลาสติก)


ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor System (แบบพลาสติก) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุขึ้นในแนวลาดเอียง ในไลน์การผลิตที่มีการลำเลียงต่างระดับ ระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก สามารถลำเลียงผ่านน้ำหรือลำเลียงชิ้นงานที่เปียกได้ และยังไม่เป็นสนิท ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก จะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยการลำเลียงจะมีลักษณะแนวลาดเอียง ลำเลียงจากที่ต่ำขึ้นสู่ที่สูง องศาลาดเอียงของระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก จะเริ่มตั้งแต่ 10องศา และไม่เกิน 45องศา เหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทยาง , อาหาร , บรรจุภัณฑ์หีบห่อ หรือ ลำเลียงสิ่งของที่ต้องผ่านเครื่อง X-Ray 


2. ระบบสายพานลำเลียง Canvas Belt Conveyor System (แบบผ้าใบ)



ระบบสายพานลำเลียง Canvas Belt Conveyor System (แบบผ้าใบ) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุ ระบบสายพานลำเลียงแบบผ้าใบ สามารถทนความร้อนได้และมีความยืดหยุ่นค่อนข้างน้อยเมื่อรับแรงดึง ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบผ้าใบจะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยสามารถขยับตัวระบบลำเลียงให้ตรงกับไลน์การผลิตได้ เหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทยาง , อาหาร เป็นต้น ...

3. ระบบสายพานลำเลียง PVC Belt Conveyor System (แบบ PVC)


ระบบสายพานลำเลียง PVC Belt Conveyor System (แบบ PVC) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ระบบสายพานลำเลียงแบบ PVC สามารถทนความร้อนได้และราคาถูก ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบ PVC จะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เหมาะสำหรับงานลำเลียงในอุตสาหกรรมอาหาร สินค้าที่บรรจุหีบห่อที่มีน้ำหนักเบาและต้องการความสะอาด

4. ระบบสายพานลำเลียง Metal Detector Belt Conveyor System



ระบบสายพานลำเลียง Metal Detector Belt Conveyor System (เครื่องตรวจหาโลหะ) มีระบบสายพานลำเลียง 2 แบบ คือ 1.แบบพลาสติก 2. แบบ PVC สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุเข้าเครื่องตรวจหาโลหะ หลังจากชิ้นงานหรือวัสดุผ่านกระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ มาแล้ว เมื่อมาถึงเครื่องตรวจหาโลหะ ในรูปแบบบรรจุภัณฑ์หรือรูปแบบชิ้นงาน เช่น ซองพลาสติก กล่องกระดาษ ขวดแก้ว ยาง เครื่องตรวจหาโลหะใช้พลังงานแม่เหล็ก โดยทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก (Electro Magnetic Field) เมื่อมีโลหะ เช่น เหล็กปนอยู่ในแผ่นยาง เครื่องจะทำการแจ้งเตือนในรูปแบบต่างๆ เช่น ร้องเตือน ผลักออก หรือหยุดเครื่อง

AGV

              AGV  คือ  รถขนส่งเคลื่อนที่อัตโนมัติ AGV มีหลายชนิดให้เลือกตามความเหมาะสมของการใช้งานตั้งแต่ การใช้งานแบบลากจูง container ,แบบยก container จนถึงแบบรถยก (Forklift) ในลักษณะต่างๆ โดยมีระบบควบคุมเส้นทางและนำทางการขับเคลื่อน (The Vihicle Navigation & Guidance System) ด้วยการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กที่ฝังอยู่ในพื้นผิวทางเดินรถ AGV หรือแบบควบคุมโดยการ ตรวจจับด้วยแสงเลเซอร์เพื่อให้รถ AGV สามารถเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่กำหนดได้
รถ AGV แต่ละชนิดรับน้ำหนักได้ต่างกันตั้งแต่ 400-1,200 กิโลกรัม หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับการใช้งานแต่ละประเภท โดยมีความเร็วในการขับเคลื่อน 1.2-1.7 เมตร ต่อวินาที
     รถ AGV ทุกคันจะติดตั้งระบบเลเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวที่ประกันได้ว่ามีระดับความปลอดภัยสูงสุด โดยติดตั้งทั้งด้านหน้าและหลังของตัวรถ และแบ่งการเตือนภัยออกเป็น 2 พื้นที่ คือ พื้นที่เตือนภัย( Warning Area)และพื้นที่หยุด (Stopping Area) กล่าวคือ ถ้ามีบุคคลเดินเข้าในเขตพื้นที่เตือนภัย รถ AGV จะลดความเร็วลงจากความเร็วสูงสุด (Maximum Speed) เป็นลักษณะแบบเคลื่อนที่ช้า (Crawling Speed) และถ้าตรวจจับได้ในพื้นที่หยุด รถ AGV จะหยุดทันที โดยระยะทางของพื้นที่เตือนและพื้นที่หยุด จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับความเร็วของรถ AGV  ทั้งนี้แบตเตอรี่ที่ใช้เป็นแบบ Maintenace Free สามารถใช้งานได้ติดต่อกันแบบต่อเนื่องนานถึง 8-10 ชั่วโมง โดยไม่ต้องนำแบตเตอรี่ออกจากตัวรถ




ประโยนช์ของรถ AGV 


รถ AGV power stacker 1 คัน สามารถขับเคลื่อนโดยไม่ต้องใช้พนักงานขับ จะสามารถประหยัด 
ค่าแรงคนงาน ได้ดังนี้ (ประมาณการที่ค่าแรงขั้นต่ำ300บาท และค่าสวัสดิการอื่นๆ)
ถ้าใช้งานAGV 1 กะ:วัน (8ชม.) ลดค่าใช้จ่ายแรงคนงาน คน = 10,000 ฿:เดือน หรือ = 120,000฿:ปี 
ถ้าใช้งานAGV 2 กะ:วัน (16ชม.)ลดค่าใช้จ่ายแรงคนงาน คน = 20,000 ฿:เดือน หรือ = 240,000฿:ปี 
ถ้าใช้งานAGV 3 กะ:วัน (24ชม.) ลดค่าใช้จ่ายแรงคนงาน คน = 30,000 ฿:เดือน หรือ = 360,000฿:ปี  
ในการลงทุนปรับปรุงรถยกให้เป็นรถ AGV ประมาณเบื้องต้นว่า มีค่าใช้จ่ายราว 300,000 ฿ ต่อคัน จะสามารถคืนทุนในเวลา 
2ปี เดือน ถ้าใช้งาน กะ:วัน
1ปี เดือน ถ้าใช้งาน กะ:วัน 
เพียง 10 เดือน ถ้าใช้งาน กะ:วัน 
ซึ่งถ้าลงทุนใช้รถ AGV หลายคันทางบริษัทก็จะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้อีกเป็นอัตราเพิ่มขึ้นใน กรณีศึกษา ที่มีการใช้คนงาน คน และ รถ Power stacker 3 คัน  หากมีการใช้ AGV power stacker แทน และใช้งานถึง กะ ปริมาณงานที่ได้จาก รถAGV ก็จะเท่ากับ ปริมาณงานของคนงานถึง คน นั่นคือผลกำไรที่ได้คืนมา ประมาณ 90,000 บาทต่อเดือน หรือ 1,080,000 บาทต่อปี  




หลักการใช้งานและการควบคุมความปลอดภัยของรถ AGV ระบบ AGV (Automated Guided Vehicle
System หรือ AGVS) เป็นระบบขนถ่ายวัสดุที่ใช้รถทำงานได้โดย ให้รถแต่ละคันมีอิสระต่อกัน สามารถขับเคลื่อน ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งถูกนำทางด้วย เส้นทางขนส่งที่ฝังอยู่บนพื้นของโรงงาน รถจะใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ที่ติดตั้งอยู่ในตัวรถซึ่งจะทำให้รถวิ่งได้ในระยะหนึ่งจากนั้นต้องทำการอัดแบตเตอรี่ใหม่การกำหนดเส้นทางขนส่งของระบบ AGV นี้อาจจะทำได้โดยใช้สายไฟฟ้าฝังอยู่กับพื้นโรงงาน หรือ ใช้สีสะท้อนแสงทาบนพื้นโรงงานก็ ได้รถจะใช้เซนเซอร์ (Sensor) เป็นอุปกรณ์ในการนำทาง รถ AGV ที่ใช้งานกัน อยู่ในปัจจุบันมี หลายชนิดด้วยกันคือ


    1. AGV Driver Train : รถ AGV ชนิดนี้จะประกอบด้วยรถลาก (ซึ่งเป็น AGV) ที่ใช้ลากขบวนของรถพ่วง รถ AGV ชนิดนี้เป็นรถ AGV ชนิดแรกที่ผลิตขึ้นมา และปัจจุบันยังคงเป็นที่นิยมอยู่ รถ AGVประเภทนี้เหมาะสมที่จะใช้กับโหลดที่มีน้ำหนักมากที่จะต้องขนย้ายเป็นระยะทางไกล ๆ ในคลังสินค้าหรือในโรงงาน และในระหว่างเส้นทางการขนส่ง อาจจะต้องมีการโหลดชิ้นงานเข้าหรือออกจากรถ AGV ก็ได้





2. AGV Pallet Truck : รถ AGV ประเภทนี้จะใช้ขนส่งโหลดที่วางอยู่บนพาเล็ตไปบนเส้นทางการขนส่งที่กำหนดให้การทำงานแบบนี้เดิมทีคนงานจะทำหน้าที่ โหลดพาเล็ตขึ้นมาไว้บนรถด้วยซ่อม (Fork)แล้วขับรถไปยังตำแหน่งที่ต้องการ ในการใช้งานรถ AGV ประเภทนี้ผู้ควบคุมเพียงแค่ขับรถAGV ไปยังตำแหน่งเริ่มต้นของเส้นทางเดินรถ จากนั้นทำการโปรแกรมจุดหมาย แล้วปล่อยให้รถ AGVเคลื่อนที่ไปยังจุดหมายเองโดยอัตโนมัติ ซึ่งรถ AGV ชนิดนี้ปัจจุบันคือรถForklift AGV นั่นเอง



3. AGV Pallet Truck : รถ AGV ชนิดนี้จะใช้สำหรับเคลื่อนย้าย Unit Load จาก สถานีหนึ่งไปยังอีกสถานีหนึ่ง โดยปกติแล้วรถ AGV ประเภทนี้จะมีระบบนำชิ้นงานเข้าออกจาก รถ AGV แบบอัตโนมัติติดตั้งอยู่ด้วย ซึ่งระบบนี้อาจ มีการขับเคลื่อนด้วย ลูกกลิ้ง สายพาน แท่นลิฟต์ หรืออุปกรณ์ทางกลอื่น ๆ 

 


ประโยนช์ของรถ AGV 

รถ AGV power stacker 1 คัน สามารถขับเคลื่อนโดยไม่ต้องใช้พนักงานขับจะสามารถประหยัดค่าแรง

คนงานได้ดังนี้ (ประมาณการที่ค่าแรงขั้นต่ำ300บาท และค่าสวัสดิการอื่นๆ)

  • ถ้าใช้งานAGV 1 กะ:วัน (8ชม.) ลดค่าใช้จ่ายแรงคนงาน คน = 10,000 ฿:เดือน หรือ = 120,000฿:ปี 
  • ถ้าใช้งานAGV 2 กะ:วัน (16ชม.)ลดค่าใช้จ่ายแรงคนงาน คน = 20,000 ฿:เดือน หรือ = 240,000฿:ปี 
  • ถ้าใช้งานAGV 3 กะ:วัน (24ชม.) ลดค่าใช้จ่ายแรงคนงาน คน = 30,000 ฿:เดือน หรือ = 360,000฿:ปี  
      ในการลงทุนปรับปรุงรถยกให้เป็นรถ AGV ประมาณเบื้องต้นว่า มีค่าใช้จ่ายราว 300,000 ฿ ต่อคัน 
จะสามารถคืนทุนในเวลา 2ปี เดือน ถ้าใช้งาน กะ:วัน 1ปี เดือน ถ้าใช้งาน กะ:วัน เพียง 10 เดือน ถ้าใช้งาน กะ:วัน  ซึ่งถ้าลงทุนใช้รถ AGV หลายคันทางบริษัทก็จะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้อีกเป็นอัตราเพิ่มขึ้นในกรณีศึกษาที่มี การใช้คนงาน คน และ รถ Power stacker 3 คัน หากมีการใช้ AGV power stacker แทนและใช้งานถึง กะ ปริมาณงานที่ได้จากรถAGVก็จะเท่ากับปริมาณงานของคนงานถึง คน นั่นคือผลกำไรที่ได้คืนมาประมาณ 90,000 บาทต่อเดือน หรือ 1,080,000 บาทต่อปี  

   เพิ่มประสิทธิภาพและปริมาณการทำงาน 
       รถAGV เริ่มงานได้ตรงเวลาตั้งแต่ 8โมงเช้า ถึง5โมงเย็นโดยไม่ต้องหยุดพักเข้าห้องน้ำ ทานกาแฟ สูบบุหรี่ หรือ คุยโทรศัพท์ รถAGVไม่ลาหยุดหรือลากิจ ไม่ขาดงานบ่อย งานจะเดินได้สม่ำเสมอ 
กรณี รถเสียทางบริษัทมีบริการ Service online เป็นบริการที่รวดเร็ว และมีค่าใช้จ่ายน้อยหรือถ้าต้องมีการ service onsite เราก็สามารถบริการได้รวดเร็ว เพราะเป็นช่างในเมืองไทยไม่ต้องรอจากต่างประเทศ
ความคุ้มทุนจึงเกิดจากปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นด้วย
   

ลดต้นทุนแฝงด้านความเสียหายที่เกิดจากคนขับ
      ความผิดพลาดจากมนุษย์เป็นเรื่องปกติการขับเฉี่ยวชนเกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่อ ซึ่งจะไม่เกิดขึ้นกับรถAGV เป็นการลดความเสียหายของสินค้า และตัวรถยกเองก็มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น
การลงทุนด้าน Automation จึงเป็นการลงทุนที่คุ้มในระยะยาวช่วยลดต้นทุนความเสียหาย โดยการควบคุมด้วยโปรแกรมอัตโนมัติ และอุปกรณ์ป้องกันการเฉี่ยวชนความคุ้มทุนจะมาอยู่ที่ประสิทธิภาพการทำงานที่ปราศจากอุบัติเหตุ ลดค่าใช้จ่ายการซ่อมแซม

เพิ่มภาพลักษณ์ที่ทันสมัยให้แก่บริษัท
      เป็นผลดีด้านจิตวิทยา ทำให้บริษัทก้าวทันยุคเทียบเท่ากับบริษัทระดับโลกซึ่งใช้ระบบ Automation มานานนับทศวรรษแล้วในการติดต่อกับลูกค้าโดยเฉพาะบริษัททีมีการติดต่อกับต่างประเทศเจ้าของกิจการจะรู้สึกได้เองว่าคุ้มที่ได้ปรับปรุงกิจการให้ทันสมัยขึ้น



9/30/64

หุ่นยนต์ 4 ประเภท

 หุ่นยนต์

การใช้หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม

          ในปัจจุบันนี้การพัฒนาหุ่นยนต์ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตยางและพลาสติกในโรงงานมากยิ่งขึ้น เพื่อนำผลที่ได้ไปต่อยอกงานวิจัยต่อไป ในขณะที่ความต้องการของผู้ผลิตส่วนใหญ่คือ ปริมาณสินค้าจำนวนมาก เพียงหุ่นยนต์ขนาดเล็ก หรือขนาดกลาง ก็สามารถเพิ่มปริมาณสินค้าจำนวนมากได้ในเวลาอันสั้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ผลิตได้เป็นย่างดี

 


มีคุณสมบัติอีกหลายประการที่ทางหน่วยงานผลิตหุ่นยนต์ จะต้องคอยปรับแก้ไข หากหุ่นยนต์ที่ผลิตขึ้นมานั้นยากต่อการใช้งาน หรือเป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์ หรือทำให้สมดุลธรรมชาติเสียไป ดังนั้นสิ่งที่เพิ่มเข้าไปในหุ่นยนต์อาจประกอบด้วย การตอบสนองต่อแรงกระทำ และการพัฒนาระบบการรับภาพ เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถปรับตำแหน่งได้โดยอัตโนมัติหรือดูมีชีวิตมากยิ่งขึ้นหรือเพิ่มความยืดหยุ่นต่างๆ ซึ่งหุ่นยนต์ที่ดีควรมี:

▪   ส่วนแขนของหุ่นยนต์

▪   สว่านหรือตัวเจาะ

▪   ส่วนล้อและส่วนเครน

▪   ส่วนที่เป็นมือหยิบจับ

▪   ตัวเชื่อม, อ็อกโลหะ (ช่วยทำให้โลหะเข้ารูปได้ดีขึ้น)

▪   ต้องมีการพัฒนาหุ่นยนต์อยู่เสมอ     

 

ยกตัวอย่างเช่น ส่วนแขนของหุ่นยนต์จะมีประโยชน์ต่องานอุตสาหกรรมที่หลากหลาย และส่วนประกอบที่ตัวหุ่นยนต์สามารถถอดหรือใส่บางสิ่งเข้าไปเพื่อปรับให้เหมาะสมกับงานที่ทำมากที่สุด

 

เหตุผล 5 ประการที่ควรใช้หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม

▪   หุ่นยนต์สามารถทำงานผลิตได้อย่างประสิทธิภาพ ตั้งแต่กระบวนการสร้าง จนถึงกระบวนการห่อบรรจุภัณฑ์

▪   สามารถตั้งค่าหุ่นยนต์ให้ทำงานตลอด 24 ชม.ได้ ทำให้เมื่อไฟดับ หุ่นยนต์จะยังสามารถทำงานต่อไปได้

▪   ชิ้นส่วนภายในหุ่นยนต์มีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามแต่ที่เราต้องการ ทำให้สามารถ ทำงานที่ค่อนข้างซับซ้อนได้เป็นอย่างดี

▪   เนื่องจากปัจจุบันหุ่นยนต์มีการพัฒนาที่ดีขึ้นจากแต่เดิมมากยิ่งขึ้น ทำให้ทางผู้ผลิตต้องการปรับเปลี่ยนทุกสิ่งอย่างภายในโรงงานให้เป็นอัตโนมัติ เพื่อความสะดวกสบาย

▪ การให้หุ่นยนต์ทำงานโดยอัตโนมัติ จะช่วยสร้างประโยชน์ให้กับบริษัทมากมาย ไม่ว่าจะเป็นจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ หรือแม้แต่ร้านค้าเล็กๆ

เหตุผล 5 ประการที่บ่งบอกว่าหุ่นยนต์ไม่ได้ส่งผลเรื่องปัญหาการจ้างงาน

▪   เมื่อบริษัทไม่ใหญ่โดพอที่จะขันกับบริษัทอื่น การว่าจ้างงานก็ถือเป็นเรื่องลำบาก

▪   หน้าที่ของหุ่นยนต์ในโรงงานคือ ช่วยทำงานทุกอย่างในตำแหน่งที่ว่างอยู่ได้

▪   หุ่นยนต์ช่วยมนุษย์ได้ในหลายๆเรื่อง ทั้งเรื่องการป้องกันไม่ให้มนุษย์ต้องทำงานเสี่ยงอันตราย,การทำงานซ้ำซ้อน, ผิดศีลธรรม รวมถึงยังสามารถสร้างสรรค์งานต่างๆได้อีกมากมาย เช่น งานวิศกรรม งานโปรแกรมมิ่ง งานการจัดการ และการบำรุงรักษาเครื่องมือต่างๆ

▪   หุ่นยนต์สามารถพัฒนาความสามารถการทำงานไปได้สูงสุด เพื่อพร้อมสำหรับการแข่งขันกับโรงงานอื่นๆ

▪   เนื่องด้วยปัจจุบันมีจำนวนคนงานในตลาดแรงงานลดลงจากปัญหาการว่าจ้างเมื่อหลายสิบปีก่อน ซึ่งหุ่นยนต์ก็ได้เข้ามามีบทบาทในส่วนนี้มากยิ่งขึ้น

 

เหตุผล 5 ประการที่ช่วยแสดงให้เห็นว่าสามารถใช้หุ่นยนต์เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงงานได้

▪   การใช้หุ่นยนต์ให้ทำงานโดยอัตโนมัติ จะช่วยให้บริษัทต่างๆภายในประเทศมีคุณสมบัติเพียงพอสำหรับการแข่งขันกับบริษัทรายอื่นที่อู่ต่างประเทศ

▪   เนื่องจากหุ่นยนต์สามารถทำประโยชน์ให้กับโรงงานอุตสาหกรรมได้เนอย่างมาก ดังนั้นทางโรงงานจึงควรบำรุงรักษา หรือต่อยืดค่าสัญญาลิขสิทธิ์ต่างๆของหุ่นยนต์ให้ดี

▪   หุ่นยนต์ได้รับ ROI ภายในเวลาเพียงแค่ 2 ปี ยิ่งช่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการว่าจ้างงาน ยิ่งทำให้ตัวหุ่นยนต์มีราคาสูงขึ้นไปอีก

▪   จากผลการวิจัยทางสถิติแล้วพบว่า หากอาศัยความสามารถทั้งหมดที่คนงานสามารถทำได้ ประกอบกับการใช้หุ่นยนต์ ในการทำอุตสาหกรรมภายในโรงงาน จะช่วยเพิ่มมาตรฐานหรือคุณภาพงานที่ได้มากขึ้น

▪   เนื่องจากปัจจุบันนี้ อุตสาหกรรมสีเขียว กำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว การใช้หุ่นยนต์เข้ามาช่วยในด้านงานอุตสาหกรรม ถือว่าเป็นสิ่งที่สามารถตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากไม่จำเป็นต้องควบคุมสภาพอากาศหรือแสงแดด เพื่อให้หุ่นยนต์เหล่านั้นทำงานได้ และนอกจากนี้มันยังสามารถทำความสะอาดสถานที่ต่างๆได้อีกด้วย

 

การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงหุ่นยนต์

หากจะให้พูดกันตามตรงเลยก็คือว่า หุ่นยนต์จะเข้ามามีบทบาทต่องานอุตสาหกรรมที่เกินความสามารถของมนุษย์ นั่นคือ งานที่มีขนาดเล็กเกินกว่าที่ตามนุษย์จะมองเห็น หรือนิ้วของคนจะแหย่เข้าไปได้ และนี่เป็นเพียงแค่หนึ่งเหตุผลที่ใช้อธิบายว่าทำไมงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้ถูกออกแบบมาเพื่อให้หุ่นยนต์เป็นตัวจัดการ

 

เทคโนโลยีที่ช่วยในการมองเห็น เริ่มมีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ช่วยลดงบประมาณในการซ่อม การบำรุงหุ่นยนต์เพื่อให้ตอบสรองกับงานต่างๆที่อยู่ตรงหน้า แต่หุ่นยนต์ปัจจุบันนี้สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่อยู่ตรงหน้าได้เป็นอย่างดี

 

โรงงานอุตสาหกรรมหลายๆแห่ง เริ่มตระหนักถึงประโยชน์ในการใช้หุ่นยนต์เข้ามาช่วยในการทำงานมากยิ่งขึ้น ลองเข้าไปดูที่เว็บไซต์ RoboMac.co.th และดูว่าหุ่นยนต์อุตสาหกรรม          จะสามารถทำประโยชน์ให้กับธุรกิจของคุณได้มากน้อยเพียงใด


หุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์หรือสัตว์


อาซิโม  (หุ่นยนต์สุดล้ำ

    อาซิโม (ASIMO) หรือชื่อย่อจาก Advanced Step in Innovative Mobility’ เป็นนวัตกรรมหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ที่ล้ำยุคที่สุดในโลกขนาดความสูง130 เซนติเมตร น้ำหนัก 54 กิโลกรัม ซึ่งคิดค้นและพัฒนาขึ้นโดย บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด ผู้ผลิตยานยนต์และเครื่องยนต์รายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกทั้งนี้อาซิโมคือสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพและความทุ่มเทของฮอนด้าในการคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการเคลื่อนที่ระดับโลก 

กำเนิดอาซิโม 

    อาซิโม ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2543 โดยเป็นความสำเร็จจากโครงการวิจัยเพื่อสร้างสรรค์หุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ที่ฮอนด้าได้ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ.2529 จากความฝันของทีมวิศวกรฮอนด้า นำโดยนายมาซาโตะ ฮิโรเสะ หัวหน้าวิศวกรอาวุโส บริษัท ฮอนด้า อาร์แอนด์ดี จำกัด ศูนย์วิจัยวาโกะ ที่ต้องการเห็นหุ่นยนต์เป็นเพื่อนร่วมงาน และเป็นเพื่อนกับมนุษย์ในอนาคต ซึ่งได้พัฒนาสู่แนวคิด การผสมผสานการทำงานที่หลากหลายของเครื่องยนต์กลไกที่จะช่วยเติมเต็มความสมบูรณ์ของชีวิตมนุษย์” อันเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาหุ่นยนต์ของฮอนด้า ทีมวิศวกรได้เฝ้าสังเกตการเดิน การเคลื่อนไหวของสัตว์และมนุษย์ อย่างใกล้ชิด เพื่อนำมาคิดค้นรูปแบบการเดินของหุ่นยนต์และนำไปสู่การพัฒนาหุ่นยนต์ทดลอง 7 รุ่น และหุ่นยนต์ต้นแบบอีก 3 รุ่น ตลอดระยะเวลา 14 ปีที่ได้ริเริ่มโครงการ จนได้ให้กำเนิดอาซิโมขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของวิวัฒนาการแห่งหุ่นยนต์อย่างเป็นทางการในปีพ.ศ. 2543 ดังกล่าว 

ภาพรวมความสามารถที่โดดเด่นของอาซิโม 

วิดีโอ YOUTUBE




   เพื่อให้อาซิโมสามารถทำงานในสภาพแวดล้อมแบบมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดอาซิโมจึงได้รับการออกแบบให้มีรูปลักษณ์ที่คล้ายมนุษย์พร้อมติดตั้เทคโนโลยีการเคลื่อนที่อัจฉริยะ ไอ-วอล์ค (i-WALK) ที่ทำให้อาซิโมสามารถเดินด้วย 2 ขา อย่างคล่องแคล่วนุ่มนวล เป็นธรรมชาติ สามารถคาดการณ์การเดินล่วงหน้า ตลอดจนสามารถเดินได้หลากหลายรูปแบบ เช่น การเดินไปข้างหน้าและถอยหลัง การเดินไปด้านข้าง การเดินขึ้นลงบันได การเดินเลี้ยวหักมุมต่อเนื่องจากการเดินปกติโดยไม่ต้องหยุดก่อนความสามารถในการปรับความเร็วในแต่ละก้าวของการเดิน ประกอบกับเทคโนโลยีการควบคุมท่าทางที่ช่วยป้องกันการลื่นไถลเพื่อรักษาการทรงตัวขณะกระโดดและวิ่งในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งยังช่วยให้อาซิโมสามารถเคลื่อนไหวลำตัว เช่น โน้มตัวหรือหันลำตัวได้อย่างคล่องแคล่ว และมีเสถียรภาพยิ่งขึ้น


หุ่นยนต์ที่ใช้ทางการแพทย์ หรือการทหาร

             นวัตกรรมอันชาญฉลาด เพื่อพัฒนาการทำงานภายใต้รูปแบบการรักษาที่ทันสมัย อำนวยความสะดวกสบาย เพิ่มความแม่นยำ และลดภาระหน้าที่รวมถึงปัญหาการขาดบุคลากรในองค์กร นวัตกรรมทันสมัยในวันนี้ที่เราจะพลาดการกล่าวถึงไม่ได้เลยคือ หุ่นยนต์ทางการแพทย์ (robotic medical devices)



   หุ่นยนต์ทางการแพทย์ เป็นเทคโนโลยีที่มีการคิดค้นและพัฒนามายาวนาน สอดคล้องความต้องการวิธีรักษาที่ทันสมัย รวดเร็ว มีประสิทธิภาพสูง ก้าวพ้นความบกพร่องของอดีตที่ผ่านมาด้วยการใช้สมองกลอันชาญฉลาดในการสั่งงานหุ่นยนต์ให้ทำงานตามวัตถุประสงค์การใช้งานของทีมแพทย์


   เริ่มตั้งแต่การฟื้นฟู ช่วยเหลือการเจริญเติบโตของวัยเด็กจนไปถึงการช่วยเหลือการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ ในส่วนของการผ่าตัดที่ครอบคลุมถึงความสามารถในการทำงานร่วมด้วยกับทางทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการทำการผ่าตัดทางไกลซึ่งสามารถควบคุมวิธีการรักษาต่างสถานที่ได้ นับได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยน่าภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งในการรักษาผู้ป่วย และที่ขาดไม่ได้คือการทำความสะอาดหรือการฆ่าเชื้อในห้องปฏิบัติการ หุ่นยนต์ก็ยังสามารถทำงานตามคำสั่งได้เช่นกัน เพื่อป้องกันและลดโอกาสที่อาจจะเกิดการติดเชื้อของผู้ปฏิบัติงาน


   ในปัจจุบันทราบหรือไม่ว่า ในตลาดการพัฒนาหุ่นยนต์ทางการแพทย์มิได้มีการพัฒนาหรือผลิตหุ่นยนต์เพียงเพื่อทำหน้าที่การรักษาอย่างเดียว แต่ยังมีความสามารถในการจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วย รวมทั้งสามารถเตรียมผสมยาฉีดได้แล้วเช่นกัน โดยทำหน้าที่แทนเภสัชกรเพื่อลดการทำงาน ช่วยแบ่งเบาภาระต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง นับได้ว่าเป็นความล้ำหน้าทางเทคโนโลยีที่ก้าวข้ามผ่านความท้าทายของยุคสมัยได้ดีทีเดียว


   ทั้งนี้การได้มาซึ่งเทคโนโลยีอันทันสมัย และความคุ้มค่านั้น ก็ต้องแลกมาซึ่งการลงทุนและค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมเช่นกัน


หุ่นยนต์ที่ใช้เก็บกู้ระเบิด

 หลักการทำงานของหุ่นยนเก็บกู้ระเบิดพื้นฐานในการตรวจและเก็บกู้ระเบิดทั่วๆ ไป คือ การรับ-ส่งภาพและหรือเสียง คีบจับทำลายวัตถุต้องสงสัยแล้ว และมีระบบการควบคุม 2 ระบบ คือระบบการใช้สาย LAN (Local Area Network) และระบบไร้สาย (Wireless LAN) หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดนี้ นอกจากจะมีสมรรถนะพื้นฐานทั่วไปแล้ว หน่วยวิจัยฯ ยังได้มีการปรับปรุงแก้ไขการพัฒนาระบบต่างๆ ติดตั้งเพิ่มเติม เพิ่มเติมตามความต้องการของผู้ใช้งาน เช่น

  • อุปกรณ์ติดตั้งปืนฉีดน้ำแรงดันสูง สำหรับทำลายวัตถุต้องสงสัย
  • อุปกรณ์การควบคุมเส้นทางและเข็มทิศอิเล็กทรอนิกส์  
  • อุปกรณ์การพัฒนาการเก็บและแสดงข้อมูลการเคลื่อนที่ของแขนกล  
  • อุปกรณ์การพัฒนาให้มือจับของตัวหุ่นยนต์สามารถบอกแรงที่ใช้จับวัตถุได้ (Force Sensor)  
  • อุปกรณ์การส่งข้อมูลและภาพกลับมายังคอมพิวเตอร์ควบคุมด้วยกล้อง 3 มิติ  
  • อุปกรณ์ติดตั้งเพื่อกวาดตะปูเรือใบ
  • อุปกรณ์ตรวจจับโลหะ เพื่อการสำรวจวัตถุระเบิดที่ฝังในใต้ดิน
  • อุปกรณ์ x-ray
  • อุปกรณ์ตรวจสอบวัตถุระเบิด

             สำหรับจุดเด่นของหุ่นยนต์ที่ทีมนักวิจัยได้สร้างขึ้น คือ การใช้อุปกรณ์ที่มีในประเทศ ทำให้สะดวกต่อการบำรุงดูแลรักษารวมทั้งแก้ปัญหาเองได้ ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ  หากหุ่นยนต์โดนระเบิดทำลายหรือได้รับความเสียหายจากการปฏิบัติงาน สามารถนำกลับมาเพื่อประกอบใหม่ใช้งานรวมทั้งราคาถูกกว่าหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดที่นำเข้าจากต่างประเทศ  

             หลังจากนำไปให้ผู้ปฏบัติงานได้ทดลองใช้งานจริงอย่างไม่เป็นทางการเพื่อการปรับปรุงให้เหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้งานไปแล้ว  และได้มีพิธีมอบหุ่นยนต์ชุดแรกอย่างเป็นทางการให้กับ ศูนย์ข่าวกรองประจำพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้   เมื่อ   13 มกราคม 2552 ผลการใช้งานได้มีการติดต่อประสานกันอยู่ตลอดเวลาระหว่างคณะวิจัยฯและผู้ปฏิบัติงาน เพื่อหาข้อบกพร่องเพื่อปรับปรุงหุ่นยนต์ให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานให้ดียิ่งขึ้น

           ล่าสุด เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2553 ณ ห้องประชุม 9 ตึก 50ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีพิธีมอบเงินบริจาค จาก บริษัทลักกี้เฟลม จก. จำนวน 200,000 บาท เพื่อสร้างหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดจำนวน 1 ตัว และมีพิธีมอบให้ กลุ่มงานเก็บกู้และตรวจพิสูจน์วัตถุระเบิด กองบังคับการตำรวจปฏิบัติการพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อการนำไปใช้งานต่อไป

ภาพต้นแบบหุ่นยนต์ที่ถูกนำไปใช้งานจริง

 

 

 

 





8/26/64

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือระบบเน็ตเวิร์ก คือ กลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันเพื่อ ให้ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกันได้"เครือข่ายนั้นมีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กที่เชื่อมต่อกันด้วยคอมพิวเตอร์เพียงสองสามเครื่อง เพื่อใช้งานในบ้านหรือในบริษัทเล็กๆ ไปจนถึงเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก ส่วน Home Network หรือเครือข่ายภายในบ้าน ซึ่งเป็นระบบ LAN ( Local Area Network) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กๆ หมายถึง การนำเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ มาเชื่อมต่อกันในบ้าน สิ่งที่เกิดตามมาก็คือประโยชน์ในการใช้คอมพิวเตอร์ด้านต่างๆ เช่น

  • การใช้ทรัพยากรร่วมกัน หมาย ถึง การใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ร่วมกัน กล่าวคือ มีเครื่องพิมพ์เพียงเครื่องเดียว ทุกคนในเครือข่ายสามารถใช้เครื่องพิมพ์นี้ได้ ทำให้สะดวกและประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะไม่ต้องลงทุนซื้อเครื่องพิมพ์หลายเครื่อง (นอกจากจะเป็นเครื่องพิมพ์คนละประเภท)
  • การแชร์ไฟล์ เมื่อ คอมพิวเตอร์ถูกติดตั้งเป็นระบบเน็ตเวิร์กแล้ว การใช้ไฟล์ข้อมูลร่วมกันหรือการแลกเปลี่ยนไฟล์ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องอุปกรณ์เก็บข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้นในการโอนย้ายข้อมูลตัดปัญหาเรื่องความจุของสื่อบันทึก ยกเว้นอุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูลหลักอย่างฮาร์ดดิสก์ หากพื้นที่เต็มก็คงต้องหามาเพิ่ม
  • การติดต่อสื่อสาร โดย คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเป็นระบบเน็ตเวิร์ก สามารถติดต่อพูดคุยกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น โดยอาศัยโปรแกรมสื่อสารที่มีความสามารถใช้เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เช่น เดียวกัน หรือการใช้อีเมล์ภายในก่อให้เครือข่าย Home Network หรือ Home Office จะเกิดประโยชน์นี้อีกมากมาย
  • การใช้อินเทอร์เน็ตร่วมกัน คอมพิวเตอร์ ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อในระบบเน็ตเวิร์กสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ทุก เครื่อง โดยมีโมเด็มตัวเดียว ไม่ว่าจะเป็นแบบอนาล็อกหรือแบบดิจิตอลอย่าง ADSL ยอดฮิตในปัจจุบัน
               ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร สถาบันการศึกษาและบ้านไปแล้วการใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ทั้งไฟล์ เครื่องพิมพ์ ต้องใช้ระบบเครือข่ายเป็นพื้นฐาน ระบบเครือข่ายจะหมายถึง การนำคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปมาเชื่อมต่อกันเพื่อจะทำการแชร์ข้อมูล และทรัพยากรร่วมกัน เช่น ไฟล์ข้อมูลและเครื่องพิมพ์ 


ความหมายของ LAN , WAN , MAN

LAN

      LAN ย่อมาจาก Local Area Network คือระบบเครือข่าย แบบเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันในระยะจำกัด เช่น ในอาคารเดียวกัน หรือบริเวณเดียวกันที่สามารถลากสายถึงกันได้โดยตรง ส่วนมากจะใช้สายเคเบิ้ล หรือ ที่เรียกกันว่า สายแลน เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อ อัตราเร็วของเครือข่าย  LAN อยู่ที่ระหวาง 1-100 Mbps ทั้งนี้ความเร็วขอมูลขึ้นอยู่กับ ตัวกลางสายส่งที่ใช้ เทคนิคการส่งสัญญาณ และข้อกำหนดของผู้ให้บริการเน็ตเวิร์ค

การเชื่อมโยงเครือข่ายแบบแลน มี 3 รูปแบบ

1.Bus มีการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 10-100 MB/sจะเชื่อมต่อกันบนสายสัญญาณเส้นเดียวกัน โดยจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า T-Connector เป็นตัวแปลงสัญญาณข้อมูลเพื่อนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์และ Terminator ในการปิดหัวท้ายของสายในระบบเครือข่ายเพื่อดูดซับข้อมูลไม่ให้เกิดการสะท้อนกลับของสัญญาณ

2.Star เป็นระบบที่มีเป็นการต่อแบบรวมศูนย์ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต่อสายเข้าไปที่อุปกรณ์ที่เรียกว่า Hub หรือ Switch โดยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Hub หรือ Switch จะทำหน้าที่เปรียบศูนย์กลางที่ทำหน้าที่กระจายข้อมูล โดยข้อดีของการต่อในรูปแบบนี้คือ หากสายสัญญาณเกิดขาดในคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆจะสามารถใช้งานได้ปรกติ แต่หากศูนย์กลางคือ Hub หรือ Switch เกิดเสียจะทำให้ระบบทั้งระบบไม่สามารถทำงานได้ทั้งระบบ

3.Ring เป็นระบบที่มีการส่งข้อมูลไปในทิศทางเดียวกัน โดยจะมีเครื่อง Server หรือ Switch ในการปล่อย Token เพื่อตรวจสอบว่ามีเครื่องคอมพิวเตอร์ใดต้องการส่งข้อมูลหรือไม่และระหว่างการส่งข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆที่ต้องการส่งข้อมูลจะต้องทำการรอให้ข้อมูลก่อนหน้านั้นถูกส่งให้สำเร็จเสียก่อน

ข้อดีของระบบ LAN

เนื่องจาผู้ใช้คอมพิเตอร์ในวง LAN เดียวกันสามารถใช้ทรัพยากรที่มีในวง LAN ร่วมกันได้ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อสำหรับอุปกรณ์ที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ หรือสแกนเนอร์ เป็นต้น การขนย้ายข้อมูลระหว่างเครื่องต่อเครื่องในระบบ ทำได้รวดเร็วกว่าการขนย้ายข้อมูลด้วยแผ่นดิสเก็ต เป็นระบบพื้นฐานในการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต

ข้อเสียของระบบ LAN

 ถ้าสายเคเบิ้ลขาดจะไม่สามารถโอนถ่ายข้อมูลได้



 

WAN

           WAN เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกันในระยะทางที่ห่างไกลซึ่งอาจมีพื้นฐานการเชื่อมต่อจาก LAN ภายในองค์กรแล้วขยายให้มีการเชื่อมต่อที่กว้างขึ้น ซึ่งระยะทางในการเชื่อมต่อกันนั้นจะไกลหลาย ๆ กิโลเมตร ดังนั้นความเร็วในการเชื่อมโยงระหว่างกันอาจไม่สูงมากนัก เพราะระยะทางไกลทำให้มีสัญญาณรบกวนได้สูง ขึ้นอยู่กับแอปพลิเคชั่นและขนาดของข้อมูล ซึ่งวิธีการในการเชื่อมต่อกันจนเกิดเป็น WAN นั้นจะมีหลากหลายชนิดเช่น ISDN, Internet, ADSL, Frame Relay เป็นต้น ซึ่งจะมี Protocol หรือ รูปแบบในการสื่อสารที่สัมพันธ์กัน

ทั้งเครือข่ายแบบ LAN และ WAN ล้วนแล้วแต่ใช้หลักการของแพ็กเกจสวิตชิ่ง กล่าวคือ มีการกำหนดวิธีการรับส่งข้อมูลเป็นแพ็กเก็ต โดยอุปกรณ์จุถูกำหนดให้มีแอดเดรสประจำ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่าย และทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลระหว่างเครือข่ายมีหลายประเภทโดยอุปกรณ์ แต่ละชนิดจะมีความสามารถแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับหน้าที่และจำนวนอุปกรณ์ที่อยู่ภายในองค์กร

บริดจ์ (Bridge)

            บริดจ์ เป็นอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายของเครือข่ายที่แยกจากกัน บริดจ์เป็นเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างสองเครือข่าย มีลักษณะการส่ง ข้อมูลแบบกระจาย (Broadcasting) ใช้กับเครือข่ายประเภทเดียวกัน การรับส่งภายในเครือข่ายมีข้อกำหนดให้แพ็กเก็ตที่ส่งกระจายไปยังตัวรับได้ทุกตัว แต่ถ้ามีการส่งมาที่แอดเดรสต่างเครือ บริดจ์เป็นเสมือนตัวแบ่งแยกข้อมูล ระหว่างเครือข่ายให้มีการสื่อสารภายในเครือข่ายไม่ปะปนไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง เพื่อลดปัญหาปริมาณข้อมูลกระจายในสายสื่อสารมากเกินไป ต่อมาได้มีผู้พัฒนาบริดจ์ให้เชื่อมโยงเครือข่ายต่างชนิดกันได้

 สวิตช์ (Switch)

            หลักการทำงานของ Switches นั้นมาจากการทำงานของ Bridge แต่ว่า ทำงานได้เร็วกว่า และมีจำนวนของ Port ที่มากกว่า จึงสามารถเรียก Switching Hub ว่า Multiport Bridge การใช้งานสามารถใช้ การใช้งานเป็น Switches ของ Hub เพื่อเชื่อมต่อ Workgroup Hub ต่างๆเข้าด้วยกัน ในรูปแบบ Collapsed Backbone โดยจะช่วยแก้ปัญหา การติดขัดบนเครือข่าย ใช้ Switches เพื่อการเชื่อมต่อบรรดา Server ต่างๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ Server การเชื่อมต่อเครือข่ายที่ประกอบด้วย Switching Hub ต่างๆเข้าด้วยกันด้วย Switching Hub ตัวหลักที่เรียกว่า Back Bone Switching Hub

เราเตอร์ (Router)

เราเตอร์จะรับข้อมูลเป็นแพ็กเกจเข้ามาตรวจสอบแอดเดรสปลายทาง จากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับตารางเส้นทางที่ได้รับการโปรแกรมไว้ เพื่อหาเส้นทางที่ส่งต่อ ปัจจุบันอุปกรณ์เราเตอร์ได้พัฒนาทำให้สามารถเชื่อมอุปกรณ์เราเตอร์หลาย ๆ ตัวเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ เราเตอร์สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการหาเส้นทางเดินที่สั้นที่สุด เลือกตามความเหมาะสม


MAN

MAN ย่อมาจาก Metropolitan Area Network คือ  เครือข่ายระดับเมือง ซึ่งเป็นเครือข่ายที่มักเชื่อมโยงกันเฉพาะในเขตเมืองเดียวกัน หรือหลายเขตเมืองที่อยู่ใกล้กัน ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ระบบเครือข่าย MAN เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงที่ใหญ่ขึ้นภายในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้งานให้ครอบคลุมเมืองทั้งเมือง ซึ่งอาจเป็นเครือข่ายเดียวกัน เช่น เครือข่ายเคเ้บิลทีวี หรืออาจเป็นการรวมเครือข่ายกันของเครือข่าย LAN หลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน

        ตัวอย่าง เช่น ภายในมหาวิทยาลัยหรือในสถานศึกษาหนึ่งๆ จะมีระบบ MAN เพื่อเชื่อมต่อระบบ LAN ของแต่ละคณะวิชาเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียวกันในวงกว้าง เทคโนโลยีที่ใช้ในเครือข่าย MAN ได้แก่ ATM, FDDI และ SMDS ระบบเครือข่าย MAN ที่จะเกิดในอนาคตอันใกล้ คือระบบที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ภายในเมืองเข้าด้วยกันโดยผ่านเทคโนโลยี Wi-Max



 ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล

           ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล หมายถึง ทิศทางจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์รับข้อมูลโดยผ่านสื่อนำข้อมูล

 สามารถแบ่งทิศทางการสื่อสารของข้อมูลได้เป็น 3 แบบ คือ

1. แบบทิศทางเดียว (Simplex)หรือเรียกว่า การสื่อสารแบบทางเดียว” (One-way Communication)เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางโดยไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับมาได้เช่น การกระจายเสียงจากสถานีวิทยุ การเผยแพร่ภาพและรายการต่างๆของสถานีโทรทัศน์ เป็นต้น

2. แบบกึ่งสองทิศทาง ( Half Duplex)หรือเรียกว่า การสื่อสารแบบทางใดทางหนึ่ง (Either-way Communication)” เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลสามารถส่งกลับกันได้ 2 ทิศทาง แต่จะไม่สามารถส่งพร้อมกันได้ โดยต้องผลัดกันส่งครั้งละทิศทางเท่านั้น เช่น วิทยุสื่อสารแบบผลัดกันพูด

3. แบบสองทิศทาง (Full Duplex)หรือเรียกว่า การสื่อสารแบบสองทาง (Both-way Communication)” เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทาง ในเวลาเดียวกัน เช่น ระบบโทรศัพท์ โดยที่คู่สนทนาสามารถพูดคุยโต้ตอบกันได้ในเวลาเดียวกัน ไม่ต้องกดสวิตซ์ เพื่อเปลี่ยนสถานะก่อนที่จะสื่อสาร